สำหรับจุดมุ่งหมายในการทำสัญญา ไม่ว่าจะเป็นสัญญาการรับจำนอง ขายฝาก ที่ดิน ก็ถือได้ว่าเป็นการทำสัญญาที่ได้รับความนิยมในการกู้เงินระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ โดยจะมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ซึ่งในการจำนองจะเป็นการทำสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งที่เรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง จะเรียกว่าผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนอง ในส่วนของการขายฝากจะเป็นการทำสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นจะตกไปยังผู้ซื้อ โดยจะมีการตกลงกันว่าผู้ขายสามารถทำการไถ่ถอนคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด 

จำนอง ขายฝากมีข้อแตกต่างสำหรับการทำสัญญาที่ควรทราบอย่างไร 

ในการทำสัญญารับจำนอง ขายฝาก ที่ดิน ก็จะมีข้อแตกต่างที่สำคัญของการทำสัญญาจำนองกับการทำสัญญาขายฝากที่ทุกท่านควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของกรรมสิทธิ์สำหรับการจำนองนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองจะไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง จึงไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองให้กับผู้รับจำ แต่สำหรับการขายฝากนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ทำการขายฝากก็จะถูกโอนไปยังผู้รับซื้อฝากทันที จึงต้องมีการส่งมอบสัญญาให้แก่ผู้รับซื้อฝาก และในการจำนองถ้าหากไม่ชำระหนี้ผู้รับจำนองจะมีการฟ้องบังคับจำนอง แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขายให้ได้เงินมาชำระหนี้ แต่การทำสัญญาขายฝากทางผู้ขายฝากจะต้องมาไทยถอนทรัพย์สินคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ถ้าหากไม่มีเงินมาไถ่ถอนภายในเวลาที่กำหนดทางกฎหมายก็จะมีการขยายเวลาการขายได้ไม่เกิน 10 ปี 

การรับจำนองกับการขายฝากมีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง 

สำหรับการรับจำนอง ขายฝาก ที่ดินก็จะมีข้อแตกต่างกันมากมายที่ทุกท่านควรรู้ เพราะจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ทุกท่านสามารถตัดสินใจในการเลือกใช้บริการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยมีข้อแตกต่างที่ทุกท่านควรรู้ดังต่อไปนี้ 

  • ในส่วนของลักษณะของคำสัญญา ในการจำนองจะต้องใช้เป็นเวลานานไม่ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือเจ้าของ แต่การขายฝากจะต้องใช้เวลาต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือของเจ้าหนี้ 
  • การทำผิดสัญญา สำหรับการจำนองถ้าหากครบสัญญาแล้วสามารถจ่ายดอกเบี้ยเพื่อขอต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี หรือการพิจารณาคดีจำนองจะมีการพิจารณาคดีเพื่อบังคับคดีแล้วให้กองบังคับคดีประมูลขายทรัพย์สินเพื่อนำมาเป็นเงินชำระหนี้ ในส่วนของการขายฝากจะต้องมาเพื่อเรียกร้องการถอนภายในระยะเวลาที่มีการตกลงไว้ในสัญญา และตามกฎหมายก็ยังสามารถขอขยายเวลาในการไถ่ถอนได้ถึง 10 ปี 
  • ค่าจดทะเบียน ในการจำนองจะมีการเสียภาษีอัตรา 1% จากขอบเขตที่มีการนำมาจำนองแต่จะไม่เกิน 200,000 บาท ในส่วนการขายฝากจะต้องเสียภาษี 2% จากราคาประเมิน และจะต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 

โดยทั่วไปแล้วจะพบว่าในการทำสัญญาจำนอง ขายฝากก็มีข้อดีมากมายที่มีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งทุกท่านสามารถเข้ามาเลือกใช้บริการได้ตามความสะดวกและตามความต้องการของทุกท่าน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามท่านก็จะจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำสัญญาในการจำนองและการขายฝากให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจใช้บริการ